วันนี้ผมจะพาไปรู้จักกับค่าใช้จ่ายค้างจ่ายกัน ว่าค่าใช้จ่ายคืออะไร และเกี่ยวข้องกับภาษีอย่างไรนะครับ
จากประสบการณ์ตรวจสอบบัญชีที่ผ่านจะพบว่า มีผู้ทำบัญชีบางคนตอนปิดบัญชีจะมักหลงลืมที่จะตั้งค่าใช้จ่ายค้างจ่ายเข้าไปในงบการเงินให้ครบถ้วน ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ของเดือนธันวาคม กิจการจะที่ได้รับใบแจ้งหนี้ตอนเดือนมกราคม นักบัญชีบางคนจะบันทึกบัญชีค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าเข้าไปเป็นค่าใช้จ่ายของเดือนมกราคมตามวันที่ได้รับเอกสาร ซึ่งจะทำให้เสียประโยชน์ในการคำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะค่าใช้จ่ายที่บันทึกข้ามรอบบัญชี สรรพากรจะไม่ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวนภาษี
แต่ขณะเดียวกันก็จะมีนักบัญชีบางคนใช้ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เป็นเครื่องมือในการวางแผนภาษีแบบไม่ถูกต้อง หรือที่เรียกกันว่าตกแต่งบัญชีเพื่อให้เสียภาษีให้น้อยลง ส่วนใหญ่จะมักเกิดกับกิจการที่ไม่มีการวางแผนภาษี พอสิ้นปีปิดงบการเงินพบว่ามีกำไรมาก ทำใจให้เสียภาษีไม่ได้ ก็จะควักท่าไม้ตายก้นหีบตั้งค่าใช้จ่ายค้างจ่ายขึ้นมาซัก 1 อย่างเพื่อให้เสียภาษีน้อยลง
การตั้งค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ณ วันสิ้นรอบบัญชีรายการนี้เป็นรายการที่สรรพากรให้ความสนใจมากเป็นพิเศษอยู่แล้ว เพราะคนทั่วไปรู้ว่าใช้ตกแต่งบัญชีให้เสียภาษีน้อยลง ทำไมท่านสรรพากรที่มีประสบการณ์มากกว่าจะไม่รู้ ดังนั้นใครที่วางแผนภาษีด้วยวิธีนี้ค่อนข้างเสี่ยงมาก
ปีนี้กำไรเยอะ ขอตั้งค่าใช้จ่ายค้างจ่ายเข้าไปในงบการเงินได้มั้ย???
สรรพากรบอกว่า “รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง” ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวนกำไรสุทธิ
- ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต
- ที่ปรึกษาทางด้านภาษี
- อาจารย์พิเศษ