ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิต ภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ หรือสรุปสั้นๆก็คือ ภาษีชนิดหนึ่งที่เก็บจากผู้บริโภคจากการซื้อสินค้าหรือบริการในอัตรา 7%
หลักของภาษีมูลค่าเพิ่ม หลักง่ายๆ : ใครก็ตามที่มีรายได้จาการขายสินค้าหรือให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ซึ่งแสดงว่า
1. แสดงว่าถ้ารายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปี เรามีสิทธิ์เลือกว่าจะจดหรือไม่จดก็ได้
2. มีบางกิจการที่รายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีก็ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่นสถานศึกษา, ผู้สอบบัญชี, ขายสินค้าเกษตร เราสามารถดูรายชื่อทั้งหมดได้ที่ http://www.rd.go.th/publish/7052.0.html
Tip ในการเลือกจดVAT กรณีรายได้ยังไม่ถึงเกณฑ์ (ข้อควรพิจารณา)
1. กิจการมีความสามารถผลักภาระภาษีขายไปให้แก่ลูกค้าได้มากน้อยเพียงใด?
2. กิจการมีภาษีซื้อที่สามารถขอคืนได้มากน้อยเพียงใด?
และสิ่งที่สำคัญคือ ต้องมีความรู้เพียงพอเกี่ยวกับเงื่อนไขการออกใบกำกับภาษี และต้องมีความรู้เพียงพอเกี่ยวกับการใช้สิทธิทางภาษี และอาจจะต้องโดนค่าปรับทางกฎหมายเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มหากปฏิบัติไม่ถูกต้อง
Note :
1. ถ้าภาษีขาย > ภาษีซื้อ เราจะต้องนำส่งส่วนต่างให้สรรพากรเพิ่ม
2. ถ้าภาษีซื้อ > ภาษีขาย เราสามารถขอคืนส่วนต่างจากรมสรรพากรได้ หรือจะยกไปใช้ในเดือนถัดไปก็ได้
- ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต
- ที่ปรึกษาทางด้านภาษี
- อาจารย์พิเศษ