views

แจกไฟล์ ภ.ง.ด.54 และ ภ.พ.36 (แบบผูกสูตร)

HIGHLIGHTS
กรณีที่กิจการจ่ายค่าบริการไปให้กับนิติบุคคลต่างประเทศ และมีการใช้บริการนั้นประเทศไทย ยกตัวอย่างเช่นจ่ายค่าโฆษณาให้กับ Facebook, Google เป็นต้น เราจะต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ให้บริการต่างประเทศด้วยแบบ ภ.พ.36 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป นอกจากนี้ถ้าเงินได้ที่เราจ่ายให้กับนิติบุคคลต่างประเทศเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) ถึง 40(6) กิจการมีหน้าทที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรด้วยแบบ ภ.ง.ด.54 โดยการหักภาษี ณ ที่จ่ายจะแบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้ 1️⃣ เงินได้พึงประเมิณ 40(2) – 40(6) หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% 2️⃣ เงินได้พึงประเมิณ 40(4) – เงินปันผล หักภาษี ณ ที่จ่าย 10%

สามารถคำนวนภาษี เบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้แบบอัตโนมัติ

[ภ.ง.ด.54] ⏬www.iliketax.com/download/cit54.pdf

[ภ.พ.36] ⏬www.iliketax.com/download/pp36.pdf

พัฒนาโดยนายอธิฐ สุทธิปัญโญ

กรณีที่กิจการจ่ายค่าบริการไปให้กับนิติบุคคลต่างประเทศ และมีการใช้บริการนั้นประเทศไทย ยกตัวอย่างเช่นจ่ายค่าโฆษณาให้กับ Facebook, Google เป็นต้น เราจะต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ให้บริการต่างประเทศด้วยแบบ ภ.พ.36 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

นอกจากนี้ถ้าเงินได้ที่เราจ่ายให้กับนิติบุคคลต่างประเทศเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) ถึง 40(6) กิจการมีหน้าทที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรด้วยแบบ ภ.ง.ด.54 โดยการหักภาษี ณ ที่จ่ายจะแบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้

1️⃣ เงินได้พึงประเมิณ 40(2) – 40(6) หักภาษี ณ ที่จ่าย 15%

2️⃣ เงินได้พึงประเมิณ 40(4) – เงินปันผล หักภาษี ณ ที่จ่าย 10%(ก่อนหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่าลืมเช็คอนุสัญญาภาษีซ้อนด้วยครับ เพื่อได้ลดอัตรา % ที่หักลง หรืออาจจะไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายก็ได้นะครับ)

หลังจากหักภาษี ณ ที่จ่าย เราก็มีหน้าที่นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายด้วยแบบ ภ.ง.ด.54 ไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

ดังนั้นเราจะเห็นว่าทั้ง 2 แบบภาษีมีความเกี่ยวข้องกัน 😊


August 29, 2021
by ครูนัท

- ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต
- ที่ปรึกษาทางด้านภาษี
- อาจารย์พิเศษ