HIGHLIGHTS
จุดคุ้มทุนคือจุดที่ รายได้ = รายจ่าย หรือเรียกง่ายๆว่าจุดที่จะทำให้กิจการเราไม่ขาดทุนนั่นเอง ที่ต้องคำนวนหาจุดคุ้มทุน เนื่องจากเราจะได้รู้ว่าจะต้องขายเท่าไหร่ถึงจะอยู่รอด และจำนวนที่คำนวนได้นั้นมันสูงเกินกว่าความสามารถที่จะทำได้หรือไม่ ในการคำนวนจุดคุ้มทุนจะต้องรู้จักกับค่าใช้จ่ายคงที่ ที่ไม่ว่าเราจะขายได้มากหรือน้อยขนาดไหนเราก็จะต้องจ่ายเท่าเดิม และค่าใช้จ่ายผันแปร ที่จะผันแปรไปตามยอดขาย และที่สำคัญคุณต้องไม่ลืมใส่เงินเดือนของคุณลงไปในค่าใช้จ่ายคงที่ด้วยนะครับ
มีผู้ประกอบการหลายท่านเริ่มต้นธุรกิจจากความรักและความชอบ แต่เมื่อประกอบธุรกิจไปซักระยะหนึ่งมักจะพบว่าธุรกิจที่เราทำไม่ได้ทำกำไรตามที่เราคิด ขาดสภาพคล่องจนต้องปิดกิจการไป สาเหตุหลักมาจากไม่ได้คำนวนถึงจุดคุ้มทุนในธุรกิจ
จุดคุ้มทุนคือจุดที่ รายได้ = รายจ่าย หรือเรียกง่ายๆว่าจุดที่จะทำให้กิจการเราไม่ขาดทุนนั่นเอง ที่ต้องคำนวนหาจุดคุ้มทุน เนื่องจากเราจะได้รู้ว่าจะต้องขายเท่าไหร่ถึงจะอยู่รอด และจำนวนที่คำนวนได้นั้นมันสูงเกินกว่าความสามารถที่จะทำได้หรือไม่
ในการคำนวนจุดคุ้มทุนเราจะต้องรู้จักกับคำเหล่านี้
- ค่าใช้จ่ายคงที่ (Fix cost) : หมายถึงค่าใช้จ่ายที่ไม่ว่าเราจะขายได้มากหรือน้อยขนาดไหนเราก็จะต้องจ่ายเท่าเดิม เช่นค่าเช่า เงินเดือนพนักงาน เป็นต้น
- ค่าใช้จ่ายผันแปร (Variable cost): หมายถึงค่าใช้จ่ายที่จะผันแปรไปตามยอดขาย เช่นเราเปิดร้านนวดไทย (ย้ำว่านวดไทยไม่ใช่นวดแอบแฝง) ค่าหมอนวด ถ้าเราให้เป็นส่วนแบ่งจากค่านวด ค่าหมอนวดก็จะเป็นค่าใช้จ่ายผันแปร
และที่สำคัญคุณต้องไม่ลืมใส่เงินเดือนของคุณลงไปในค่าใช้จ่าย Fix cost ผมพบว่าส่วนใหญ่ทุกคนลืมใส่เงินเดือนตัวเองเข้าไป ทำให้เมื่อทำธุรกิจไปซักพัก ตัวธุรกิจอยู่รอดนะ แต่มันก็ไม่พอค่าใช้จ่ายของเรา ทำให้ต้องปิดธุรกิจลง
จุดคุ้มทุนมีประโยชน์ 2 อย่างดังนี้
- อยากรู้ว่าต้องขายกี่ชิ้นถึงจะคุ้มทุน กรณีนี้เราต้องมีราคาขายในใจอยู่แล้วว่าจะขายราคากี่บาท/ชิ้น เราต้องการหาปริมาณขายว่าจะต้องขายกี่ชิ้นถึงจะคุ้มทุน
- อยากรู้ว่าต้องการขายชิ้นละราคาเท่าไรถึงจะคุ้มทุน กรณีนี้จะใช้เมื่อเรามีสินค้าอยู่ในมือจำนวนที่แน่นอน รู้แล้วว่ามีของอยู่กี่ชิ้น แล้วอยากทราบว่าจะขายชิ้นละเท่าไรถึงคุ้มทุน