HIGHLIGHTS
กรมสรรพากรได้กำหนดหลักในการปัดเศษทศนิยมในการคำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มเอาไว้ โดยถ้าทศนิยมหลักที่ 3 มีค่าไม่ถึง 5 ให้ปัดทิ้งไป
ไม่ต้องนำมาคำนวน และกรมสรรพากรให้แนวปฏิบัติเอาไว้เกี่ยวกับกรณีที่เราได้รับใบกำกับภาษีซื้อที่มีการคำนวนยอดภาษีซื้อผิดเอาไว้
1️⃣ หากภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีซื้อที่ออกผิดมา มีมูลค่ามากกว่า จำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวนได้ ให้ใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่คำนวนได้
2️⃣ หากภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีซื้อที่ออกผิดมา มีมูลค่าน้อยกว่า จำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวนได้ ให้ใช้ภาษีซื้อได้ตามใบกำกับภาษีซื้อเท่าที่ผู้ขายคำนวนผิดมา
3️⃣ กรณีที่ได้รับใบกำกับภาษีที่มีการคำนวนภาษีผิดพลาดมากเกินกว่าจุดทศนิยม (ไม่ใช่การคำนวนผิดในหลักทศนิยม) กรณีนี้ไม่สามารถนำใบกำกับภาษีใบนี้มาใช้ได้
ปัญหาการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีเศษทศนิยมที่เกินกว่า 3 ตำแหน่ง
โดยต้องแยกมูลค่าของสินค้า/บริการ ออกจากราคารวมของสินค้า/บริการก่อน จากนั้นค่อยพิจารณาเศษทศนิยมที่คำนวณได้จากมูลค่าของสินค้า/บริการ โดยยึดหลักในการปฎิบัติดังนี้