views

“หักค่าลดหย่อน” “หักค่าใช้จ่าย” “หักภาษี” 3 คำนี้มีความหมายต่างกันอย่างไร

HIGHLIGHTS
การหักค่าใช้จ่าย คือ สิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่เราสามารถหักค่าใช้จ่ายที่เป็นตันทุนในการประกอบอาชีพ ออกจากรายได้ของเรา (หรือที่เรียกๆว่า เงินได้ นั่งเอง) ลดหย่อนภาษี คือ สิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่ช่วยทำให้เราเสียภาษีน้อยลงเมื่อคำนวณภาษี และ การหักภาษี คือ การหัก “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย” เป็นภาษีที่ต้องจ่ายไปในทันทีเมื่อเรามีรายได้ แต่นิติบุคคลผู้จ่ายเงินจะเป็นผู้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งภาษีให้กรมสรรพากร แทนผู้มีเงินได้ครับ

“หักค่าลดหย่อน” “หักค่าใช้จ่าย” “หักภาษี”

3 คำนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งคนทั่วไปมักจะเรียกผิดสลับๆ กันบ่อย

คำพูดที่ผมมักจะใช้อธิบายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเวลามีคนมาถามว่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคำนวนอย่างไร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะคำนวนจากกำไรจากการประกอบธุรกิจ ซึ่งกำไรมาจารายได้หักด้วยค่าใช้จ่าย แต่บุคคลธรรมดามีความโชคดีคือค่าใช้จ่ายนั้นสามารถเลือกหักได้ 2 แบบคือเหมาอัตราค่าใช้จ่าย และตามที่เกิดขึ้นจริง (ซึ่งในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับประเภทเงินได้)

พอเราได้กำไรจากการประกอบธุรกิจ บุคคลธรรมดากรมสรรพากรใจดีให้เราสามารถหัก “ค่าลดหย่อน” ได้อีก เมื่อนำกำไรจากการประกอบธุรกิจไปหักค่าลดหย่อน เหลือเท่าไหร่จะเรียกว่า “เงินได้สุทธิสำหรับนำไปคำนวนภาษี”

ซึ่งภาษีในประเทศไทยเป็นแบบอัตราก้าวหน้ายิ่งมีเงินได้สุทธิเยอะ ก็ยิ่งเสียภาษีในอัตราเยอะขึ้นไปเรื่อยๆ เป็นแบบขั้นบรรไดตั้งแต่ 5% จนถึง 35%


September 22, 2020
by ครูนัท

- ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต
- ที่ปรึกษาทางด้านภาษี
- อาจารย์พิเศษ