views

เรื่อง ภาระภาษี กรณีการเช่าและซื้อที่ดินสำหรับสถานกงสุล เรื่อง ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการรับจ้างทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของหน่วยงาน

วันที่: 10 กรกฎาคม 2561
เลขที่หนังสือ

กค.0702/5136 กค 0702/พ./5434

วันที่

10 กรกฎาคม 2561

ข้อกฎหมาย

มาตรา 39 มาตรา 91/2 มาตรา 91/7 มาตรา 104 และมาตรา 121 แห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 81 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร

เลขตู้

81/40727

ข้อหารือ

          สถานเอกอัครราชทูตฯ ประสงค์จะเช่าและซื้อที่ดิน สำหรับใช้เป็นที่ทำการสถานกงสุลบนที่ดินในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

          1.กรณีที่ดินในกรุงเทพฯเนื่องจากสถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่สามารถถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ จึงให้ส่วนราชการเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์จากเจ้าของที่ดินเอกชนและให้สถานเอกอัคราชฑูตฯ เป็นผู้เช่าที่ดินนั้น

          2.กรณีที่ดินในต่างจังหวัดส่วนราชการจะเป็นผู้ให้เช่าแก่สถานเอกอัครราชทูตฯ โดยส่วนราชการพิจารณาให้เช่าในระยะเวลาเบื้องต้น 30 ปี

          3.สถานเอกอัครราชทูตฯ ขอหารือว่า กรณีตาม 1. และ 2. จะมีภาระภาษีหรือไม่อย่างไร           ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการรับจ้างทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัยฯ 1. มหาวิทยาลัยฯ เป็นนิติบุคคลและมีฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐซึ่งไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น และเป็นสถานศึกษาทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง มีวัตถุประสงค์ในการสร้าง พัฒนา ประมวล และประยุกต์องค์ความรู้ทั้งมวล ดำเนินการให้มีการเรียนรู้ในองค์ความรู้จัดการศึกษา เผยแพร่ความรู้ ส่งเสริมและพัฒนาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำงานวิจัย ให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การบริหารจัดการ ศาสนา ศีลธรรม ภูมิปัญญา วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมตาม (สำนักงานฯ) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัยฯ มีหน้าที่ในการรับจ้างทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้แก่หน่วยงานรัฐและเอกชน เพื่อให้การดำเนินงานตามหน้าที่รับผิดชอบเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและถูกต้อง มหาวิทยาลัยฯ จึงขอหารือดังนี้

          2.1 หากผู้ว่าจ้างให้สำนักงานฯ ทำการวิจัย เป็นเอกชนซึ่งไม่ใช่หน่วยงานของรัฐที่มีฐานะเป็นกระทรวง ทบวง กรม ไม่ใช่องค์กรของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล หรือไม่ใช่กิจการของรัฐตามกฎหมาย หรือไม่ใช่หน่วยงานทางธุรกิจที่ไม่ใช่นิติบุคคลที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ ผู้ว่าจ้างดังกล่าวได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

          2.2 หากผู้ว่าจ้างตาม 1. ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สำนักงานฯ มีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ว่าจ้าง เพื่อนำส่งให้แก่กรมสรรพากรหรือไม่ อย่างไร

          2.3 หากสำนักงานฯ มีหน้าที่ในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ว่าจ้างเพื่อนำส่งกรมสรรพากร สำนักงานฯ จะต้องดำเนินการโดยมีวิธีการและขั้นตอนอย่างไร

แนววินิจฉัย

          1.ภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื่องจากส่วนราชการไม่ใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร

          2.ภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีส่วนราชการซื้อที่ดินจากเอกชน เนื่องจากผู้ประกอบกิจการการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร อยู่ในบังคับต้องต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 และมาตรา 91/7 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นผู้ซื้อจึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีดังกล่าว

          3.อากรแสตมป์ ผู้ให้เช่าที่ดินมีหน้าที่ต้องเสียอากรแสตมป์บนสัญญาเช่า ตามมาตรา 104 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับบัญชีท้ายหมวด 6 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผู้ให้เช่าเป็นหน่วยงานของรัฐบาล จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียอากรตามมาตรา 121 แห่งประมวลรัษฎากร           สำนักงานฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัยฯ มีการให้บริการรับจ้างทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้แก่หน่วยงานรัฐและเอกชน เนื่องจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา และเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ จึงมีประเด็นเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มดังนี้

          1. กรณีหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัยฯ มีการให้บริการวิจัย หรือให้บริการทางวิชาการในสาขาวิทยาศาสตร์ ให้แก่หน่วยงานของรัฐ ที่มีฐานะเป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือองค์กรของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล หรือกิจการของรัฐตามกฎหมาย หรือหน่วยงานทางธุรกิจที่ไม่ใช่นิติบุคคลที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ การให้บริการดังกล่าวของมหาวิทยาลัยฯ จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 12) เรื่อง กำหนดสาขาและลักษณะการประกอบกิจการ การให้บริการวิจัยหรือการให้บริการทางวิชาการ ตามมาตรา 81 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2535

          2. กรณีหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัยฯ มีการให้บริการวิจัย หรือให้บริการทางวิชาการ ให้แก่หน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐตาม 1. หากเป็นการให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ การให้บริการดังกล่าวของมหาวิทยาลัยฯ จะเข้าลักษณะเป็นการให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/1 (10) และมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร และไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 12)ฯ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2535 จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร และหากมหาวิทยาลัยฯ มีรายได้จากการให้บริการดังกล่าวเกินกว่าหนึ่งล้านแปดแสนบาทต่อปี มหาวิทยาลัยฯ มีหน้าที่ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มูลค่าฐานภาษีในการประกอบกิจการเกินกว่ามูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ทั้งนี้ ตามมาตรา 85/1 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 432) พ.ศ. 2548