“พี่ครับ ผมไลฟ์สดขายของทาง Facebook ต้องเสียภาษีมั้ยครับ” แน่นอนครับน้องไม่ว่าจะขายผ่านช่องทางไหน หรือขายแบบแบบไหนต้องเสียภาษีหมด จำเอาไว้สั้นๆ “มีรายได้ ต้องจ่ายภาษี”
“แล้วต้องเสียภาษีอะไรบ้าง” คำถามของน้องมันสั้นมาก แต่เวลาตอบนี่โครตยาว พี่ขอเอาไปทำโพสเลยดีกว่าคนอื่นจะได้รู้ด้วย
เวลาที่ธุรกิจจะมี 2 ภาษีหลักที่มาเกี่ยวข้องกับชีวิติของเรา
ภาษีเงินได้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในโพสนี้จะพูดถึงกรณีที่ทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดานะครับ สำหรับนิติบุคคลเชื่อว่าผู้ประกอบการน่าจะศึกษาข้อมูลเรื่องการจัดทำบัญชีและการเสียภาษีก่อนเริ่มจดทะเบียนบริษัทเรียบร้อยแล้ว (มั้งนะ)
ภาษีเงินได้
ถ้าเราประกอบกิจการในรูปแบบของบุคคลธรรมดา เราจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และในการเสียภาษีเงินได้บุคคลนั้นจะคำนวนจากกำไรจากการประกอบธุรกิจ โดยมีสูตรคำนวนดังนี้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา = เงินได้สุทธิสำหรับคำนวนภาษี X อัตราภาษี
*เงินได้สุทธิสำหรับคำนวนภาษี = (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน)
**อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปัจจุบันอยู่ที่ 5 – 35%
ดังนั้นคำถามที่ว่ารายได้ 1 ล้านบาทเสียภาษีกี่บาท รายได้ xxx บาทเสียภาษีกี่บาท แอดมินตอบไม่ได้เราต้องไปดูที่กำไร ว่ามีกำไรจากการประกอบธุรกิจกี่บาทถึงจะคำนวนภาษีได้
นอกจากนี้บุคคลธรรมดามีความพิเศษในเรื่องของค่าใช้จ่าย กรณีที่คุณประกอบธุรกิจขายสินค้าโดยที่คุณไม่ได้ผลิตเองสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบดังนี้
(1) หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% : ไม่รู้แหละว่าสินค้าซื้อมากี่บาท คุณเอาค่าใช้จ่ายไปเลย 60% ไม่ต้องเก็บบิลให้เหนื่อย เช่นคุณมีรายได้ 1 ล้านบาท คุณก็มีค่าใช้จ่ายทันทีเลย 600,000 บาท
(2) หักค่าใช้จ่ายตามจริงและสมควร : กรณีจะเหมาะสำหรับกิจการที่มีต้นทุนจริงเกิน 60% ของราคาขายสินค้าไปเยอะ เราก็จะต้องเลือกวิธีการหักค่าใช้จ่ายตามจริง เพื่อให้เราเสียภาษีน้อยลง สำหรับการเลือกหักค่าใช้จ่ายวิธีนี้จะต้องมีการจัดทำบัญชีเงินสดรับ-จ่าย และเก็บหลักฐานประกอบการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
ดังนั้นในเรื่องของการวางแผนภาษี ถ้าต้นทุนของคุณเมื่อเทียบกับยอดขายน้อยกว่า 60% คุณจะโชคดีมาก ไม่ต้องเก็บบิลค่าใช้จ่ายอะไรเลย เลือกหักเหมาอัตราค่าใช้จ่ายที่ 60% ไปจบ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ถ้ากิจการคุณเริ่มขายดีมีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี (นับรายได้ตั้งแต่ 1 ม.ค. ถึง 31 ธ.ค.) จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
หลังจากคุณจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มคุณจะได้รับภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่คือการออกใบกำกับภาษีขายให้กับลูกค้าทุกครั้งที่ขายสินค้า และเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากลูกค้าเพิ่มนำส่งกรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
– ลูกค้าไม่อยากได้ใบกำกับภาษี เราก็ต้องออกใบกำกับภาษี
– ลูกค้าไม่บอกชื่อ ที่อยู่ เลขผู้เสียภาษี ก็ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ
– ลูกค้าไม่ยอมจ่าย VAT เราก็มีการเลือก 2 ทางคือ 1. ไม่ขาย กับ 2. ควักเงินจ่ายแทนลูกค้า
แต่ข้อดีของการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็มีอยู่ เวลาที่เราซื้อสินค้าหรือบริการแล้วมีภาษีซื้อ เราสามารถขอคืนภาษีซื้อกับกรรมสรรพากรได้
- ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต
- ที่ปรึกษาทางด้านภาษี
- อาจารย์พิเศษ