หนึ่งในเรื่องที่น้อยคนที่จะรู้ จากส่วนหนึ่งในคอร์สอบรมเข้าใจภาษีไม่ยากอีกต่อไป
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะรู้อยู่แล้วว่า ค่ารับรองที่สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้ทางภาษีจะต้องไม่เกิน 0.3% ของรายได้หรือทุนจดทะเบียนแล้วแต่อะไรจะสูงกว่า และสำหรับค่ารับรองส่วนที่เกินจาก 0.3% จะถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม ไม่ให้นำมารวมในการคำนวนภาษีเงินได้ประจำปี
ดังนั้นผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะท่องเอาไว้ในใจเสมอค่ารับรองรายได้ 1 ล้านบาท ใช้ค่ารับรองได้ 3,000 บาท พอไปทานข้าวรับรองลูกค้าเมื่อขอบิลใบเสร็จรับเงินมาจนครบตามจำนวนค่ารับรองที่กฏหมายยอมให้ใช้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ ก็จะเลิกขอบิลใบเสร็จมาบันทึกบัญชี
สำนักงานบัญชีบางแห่งพอค่ารับรองเกินจากที่ใช้ได้ไปแล้วก็จะบอกลูกค้าว่า ต่อไปไม่ต้องเอาบิลค่ารับรองมาแล้วนะมันเกินแล้ว ไม่สามารถใช้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้
ถ้าผู้ประกอบการท่านไหนเป็นแบบที่ผมกล่าวมาข้างต้น แสดงว่าคุณพลาดเรื่องที่สำคัญไป
ความลับมีอยู่ว่า แม้บิลค่ารับรองส่วนที่เกินจากที่กฏหมายกำหนด จะไม่ช่วยให้บริษัทจะหยัดภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ (เพราะเป็นรายจ่ายต้องห้าม) แต่ทันทีที่คุณนำใบเสร็จค่ารับรองมาบันทึกบัญชีจะช่วยทำให้บริษัทมีค่าใช้จ่ายเพิ่มส่งผลให้กำไรบริษัทลดลง
เมื่อบริษัทมีกำไรลดลง ส่งผลทำให้กำไรสะสมของบริษัทลดลง และเมื่อกำไรสะสมลดลงเราก็ประหยัดภาษีเงินปันผล 10%
ภาษีเงินปันผลที่ประหยัดได้ 10% = ค่าอาหารที่ถูกลง 10%
สำหรับในเรื่องนี้ผู้ประกอบการสามารถนำไปปรับใช้กับหลายเหตุการณ์เช่น ซื้อของ แต่ผู้ขายออกบิลเงินสดให้ (เขียนแต่คำว่า “สด” อย่างเดียว) ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการเมื่อได้รับบิลแบบนี้ก็จะโยนบิลเงินสดทิ้งไป เพราะคิดว่าบันทึกบัญชีไปก็ไม่ช่วยให้เสียภาษีน้อยลง
ทันทีที่คุณทิ้งบิลไป คุณก็ขาดทุนทันทีเพราะบิลใบนั้นถ้านำมาบันทึกบัญชีจะช่วยทำให้กำไรของบริษัทลดลง ส่งผลทำให้กิจการเสียภาษีเงินปันผลลดลง
- ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต
- ที่ปรึกษาทางด้านภาษี
- อาจารย์พิเศษ