โดยหลักๆแล้วที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ
1. มาตรา 33 (ภาคบังคับ) สำหรับพนักงานเอกชนทั่วไป
สำหรับใคร : สำหรับพนักงานเอกชนทั่วไป
การให้ความคุ้มครอง : 7 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย ตาย ว่างงาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ
คุณสมบัติของผู้ประกันตน : ลูกจ้างซึ่งทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการ ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
เงินสมทบของผู้ประกันตน : เงินสมทบ คือ 5% ของฐานเงินเดือน (สูงสุด 750 บาท/เดือน)
ฐานเงินที่ไว้คำนวน คือ เงินเดือนจริงที่ได้รับหรือ 15,000 โดยดูว่าจำนวนใดน้อยกว่า




2. มาตรา 39 (ภาคสมัครใจ) สำหรับผู้ที่ ไม่ทำงานประจำแล้ว อยากส่งเองต่อ
สำหรับใคร : ผู้ที่เคยเป็นพนักงานเอกชนแล้วลาออก
การให้ความคุ้มครอง : 6 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย ตาย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ
คุณสมบัติของผู้ประกันตน :
- เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน
- ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม
การส่งเงินสมทบ :
- เงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาท เท่ากันทุกคน
- คิดจากอัตราเงินสมทบ 9% (4,800 x 9% = 432 บาทต่อเดือน)





3.มาตา 40 (ภาคสมัครใจ) สำหรับแรงงานนอกระบบ, อาชีพอิสระ
สำหรับใคร : ประชาชนที่ประกอบอาชีพอิสระทุกอาชีพ
การให้ความคุ้มครอง : 3-4-5 กรณี (ขึ้นอยู่กับทางเลือกในการสมทบ)
คุณสมบัติของผู้ประกันตน :
- อายุ15 ปีเป็นต้นไป แต่ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ (ผู้ที่มีอายุ 60-65 ปี เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 24 มิ.ย. 2563)
- ทำงานแบบไม่มีนายจ้าง
